• ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี� ว่างจากการศึกสงคราม� ทางการมีโอกาสทะนุบำรุงบ้านเมือง� ช่างจึงมีบทบาทอยู่มากในด้านการสร้างพระราชฐานและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามหลวง� โดยเหตุนี้พระช่างหลายรูปจึงได้มีผลงานเป็นที่รู้จัก อาทิเช่น พระอาจารย์นาค แห่งวัดทองเพลง กรุงเทพฯ เป็นช่างฝีมือดีในครั้งรัชกาลที่ ๑ ได้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดราชบูรณะ�� ภาพมารวิชัยที่ผนังวิหารด้านหน้าของพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม� และจิตรกรรมฝาผนังวิหารด้านใต้ของพระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร�
    ��������� พระอาจารย์แดง� แห่งวัดหงส์รัตนารามกรุงเทพฯ� เกิดในรัชกาลที่ แต่มีผลงานช่างในสมัยรัชกาลที่ ผลงานสำคัญคือออกแบบกระเบื้องประดับผนังพระอุโบสถและวิหารวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม� อีกองค์หนึ่งคือ ขรัวอินโข่ง� พระช่างในรัชสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว� รัชกาลที่� � เป็นผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร� นอกจากนี้มีศิษย์ของขรัวอินโข่งชื่อ� พระครูกสินสังวรเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ� ผู้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดทองนพคุณ เป็นต้น
    ��������� นอกจากช่างศิลปะพื้นบ้านพื้นเมืองและพระช่างแล้ว�� ยังมีช่างอีกประเภทหนึ่งอันเป็นที่รวมของช่างฝีมือดีทั้งหลาย� ได้แก่� "ช่างหลวง" ช่างหลวงคือบรรดาช่างศิลป์ของไทยสาขาต่างๆที่มักเป็นคนมีฝีมือดี งานที่ทำส่วนมากเป็นสิ่งละเอียดสวยงามเป็นพิเศษ� อย่างที่เรียกว่า "ประณีตศิลป์" เช่น การทำสิ่งของเครื่องใช้ด้วยเงินหรือทองคำ� ทำลวดลายละเอียด� เช่นเครื่องราชูปโภค� เป็นต้น� ช่างหลวงจึงร่วมสังกัดกันรับราชการสนองพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์� จนมียศฐาบรรดาศักดิ์เช่นเดียวกันกับข้าราชบริพารอื่นๆ� มีหลักฐานว่ามีช่างหลวงมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเช่น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯ ให้ตราพระราชกำหนดบทพระอัยการ� ซึ่งต่อมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช� ได้โปรดฯ ให้มีการชำระกฎหมายนี้ใหม่และเรียกว่า "กฎหมายตรา ดวง" ได้แก่ ตราคชสีห์� ตราราชสีห์และตราบัวแก้ว� และให้จัดระเบียบหมวดหมู่ช่างต่างๆ� ไว้หลายกรม� แต่ละกรมมีเจ้ากรมกำกับอย่างกรมทหาร� ต่อมาเรียกว่า
    "กรมช่างสิบหมู่"��������� สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ� เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์� ทรงมีลายพระหัตถ์ประทานพระยาอนุมานราชธน� ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙� มีใจความตอนหนึ่งว่า�"ช่างสิบหมู่เป็นชื่อกรม� ที่รวมช่างไว้ได้ ๑๐ หมู่ด้วยกัน ไม่ใช่ว่าช่างในบ้านเมืองมีแค่ ๑๐ อย่างเท่านั้น..."� และเฉพาะในกฎหมายตรา ดวง มีชื่อช่างต่างๆ มากกว่า ๑๐ อย่าง เช่น ช่างเลื่อย�
    ช่างก่อ� ช่างดอกไม้เพลิง� ช่างปืน� ช่างสนะ� ช่างเขียน� ช่างแกะ� ช่างสลัก� ช่างกลึง� ช่างหล่อ� ช่างปั้น� ช่างหุ่น� และช่างรัก เป็นต้น

    ��������� งานช่างได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ� ในสมัยรัชกาลที่� ๑� แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงโปรดฯให้ฟื้นฟูการช่าง� และรวบรวมช่างหมู่ต่างๆ ขึ้นใหม่� ผู้ที่รับราชการในกรมช่างต่างๆ แม้จะมีฐานะเป็นทหารแต่ทำงานอย่างพลเรือน ดังปรากฏในตำราว่าด้วยตำแหน่งข้าราชการฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลระบุว่า� มีพระยาเทวรังสรรค์� ศักดินา ๕๐๐ เป็นเจ้ากรมกับช่างอื่นๆอีก ๑๓ ตำแหน่ง เช่น� ช่างสลักขวา� หลวงรจนาพิมล� ศักดินา ๔๐๐� ช่างสลักซ้าย� หลวงไพชยนต์�� ศักดินา ๔๐๐� ช่างเขียนซ้าย หลวงพรหมประกาศิต� ศักดินา ๔๐๐� ช่างเขียนขวาหลวงนิมิตรเวศกรรม� ศักดินา ๔๐๐� ช่างแกะหลวงวิจิตรรจนา� ศักดินา ๓๐๐�� ช่างหล่อ หลวงพิทักษ์อัคนี� ศักดินา ๓๐๐� เป็นต้น�� การจัดตำแหน่งข้าราชการกรมช่างดังกล่าว�� แม้จะมีโครงสร้างอย่างทหาร� แต่หน้าที่การงานไม่ได้เกี่ยวข้องกับทหาร�� ดังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว� ทรงแถลงพระบรมราชาธิบายในการแก้ไขการปกครองแผ่นดิน� มีข้อความตอนหนึ่งว่า "ส่วนซึ่งแบ่งเป็นฝ่ายทหารแต่ทำการฝ่ายพลเรือนนั้นคือ
    "กรมช่างสิบหมู่" ซึ่งแบ่งไว้ ในฝ่ายทหารขึ้น� ก็คงจะเป็นด้วยช่างเกิดในหมู่ทหารเหมือนทหารอินยิเนีย� แต่ภายหลังมาเมื่อทำการต่างๆ มากขึ้น จนถึงเป็นการละเอียดเช่น เขียน� ปั้น� แกะ สลัก� ก็เลยติดอยู่ในฝ่ายทหาร� แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องอันใดในราชการทหารไม่ขึ้นกรมพระกลาโหม� แต่มีกองต่างหาก� แม่กองนั้นมักจะเป็นเจ้านายโดยมาก
    ..."
    ��������� ในสมัยรัชกาลที่ ปรากฏว่าชื่อช่างประเภทต่างๆ ในพระราชบัญญัติเรื่องการไถ่ตัวไพร่หลวงที่เป็นทาส จ.ศ. ๑๑๗๔ (พ.ศ. ๒๓๕๕) ถึง ๕๒ ประเภทด้วยกัน�� ในสมัยรัชกาลที่� พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว� ทรงจัดงานช่างเป็นกรมต่างๆ ไว้ถึง ๒๙ กรมและโปรดฯให้แยกเป็นกรมช่างฝ่ายพลเรือนและกรมช่างฝ่ายทหาร� กรมช่างฝ่ายพลเรือน� ประกอบด้วยกรมช่างต่างๆ� เช่น กรมช่างหุงกระจก� กรมช่างประดับกระจก� กรมช่างหยก� กรมช่างสนะไทย� กรมช่างสนะจีน� กรมช่างชาดสีสุกกรมช่างศิลา� กรมช่างปั้น� กรมช่างสลัก� กรมช่างทอง� ส่วนกรมช่างฝ่ายทหารนั้น� มีกรมช่างทหารฝ่ายใน� โดยมีช่างที่มีตำแหน่งที่ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ เช่น� หลวงกลมัยนิมิตร(ช่างปั้น)� ขุนภมรเลขนกิจ (ช่างกลึง)� หลวงโลหกรณ์ (ช่างหล่อ)� หลวงชำนาญโลหอาวุธ(ช่างหล่อ)� ขุนพิสัยดีบุกการ (ช่างดีบุก) เป็นต้น
    ��������� ในสมัยรัชกาลที่� � พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว� ทรงจัดระเบียบการบริหารราชการใหม่� กรมช่างต่างๆ ที่เคยขึ้นกับทหารอย่างแต่ก่อน ให้ย้ายมาตั้งเป็นกรมขึ้นกับฝ่ายพลเรือน โดยตั้งเป็นกรมช่างสิบหมู่� มีพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ (หม่อมเจ้าดิศ) เป็นอธิบดี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ งานช่างสิบหมู่ไปรวมอยู่กับกรมมหรสพ� ต่อมาเมื่อตั้งกรมศิลปากรขึ้น� งานช่างสิบหมู่จึงไปอยู่กับกรมศิลปากร
    ��������� (ดังกล่าวแล้ว)� จะเห็นว่า� ช่างหลวง มีมาแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้นมีช่างประเภทต่างๆ ถึง ๓๐ ประเภททีเดียว ซึ่งบรรดาช่างหลวงเหล่านี้ได้ฝากผลงานการช่างที่สำคัญไว้มากมาย
    ��������� การช่างต่างๆ ของไทยได้พัฒนามาตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม� ดังจะเห็นได้จากการช่างสมัยรัชกาลที่� ๕� นั้น ได้นับเอารูปแบบของศิลปะและการช่างอย่างตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับการช่างไทย� ความเปลี่ยนแปลงทางการช่างของไทยจะเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ซึ่งทรงรับเอาช่างต่างชาติจากยุโรปเข้ามาทำงานช่างต่างๆ� มากขึ้น� เช่น� นำช่างจากยุโรปมาสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม� และพระที่นั่งอื่นๆ ตามแบบศิลปะตะวันตกในสมัยนี้� งานช่างต่างๆ มักพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากแบบแผนที่เป็นการช่างไทยแท้ๆ มาเป็นการผสมผสานกันระหว่างงานช่างไทยกับศิลปะแบบตะวันตกเช่น� การสร้างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวังให้มีลักษณะศิลปะไทยและศิลปะตะวันตกผสมผสานกัน� ความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ทำให้ช่างไทยรับเอาศิลปวิทยาทางการช่างแบบตะวันตกเข้ามาผสมกับวิทยาการทางการช่างของไทย
    ��������� สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นช่างสำคัญที่นำการช่างตะวันตกมาผสมผสานกับการช่างไทย� เช่น ทรงนำการเขียนภาพแรเงามาใช้กับภาพเขียนแบบประเพณีนิยมของไทย เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงทางการช่างนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจ� สังคมและวัฒนธรรม� เมื่อไทยเรารับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามาก� การช่างต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงมาเป็นแบบสากลมากยิ่งขึ้น จนถึงกับมีการตั้งสถาบันสอนวิชาการช่างอย่างตะวันตกขึ้นอย่างทุกวันนี้
    �������� ถึงกระนั้นการช่างไทยหลายประเภทก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์ไว้� เพราะเป็นการช่างที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของไทย� ปัจจุบันการช่างไทยบางประเภทจึงยังคงมีอยู่ในงานช่างสิบหมู่� กองหัตถศิลป์� กรมศิลปากร โดยกำหนดงานช่างต่างๆ ไว้ ๑๐ หมู่ดังนี้
    ��������� ๑. ช่างเขียนภาพและลายไทย
    �������� �๒. ช่างไม้แกะสลัก
    ��������� ๓. ช่างปิดทองประดับกระจก ประดับกระเบื้อง
    ����������๔. ช่างมุก
    ��������� ๕. ช่างปูนและช่างปั้นลายปูนสด
    ����������๖. ช่างลายรดน้ำและเครื่องเงิน
    ���������๗. ช่างหัวโขน
    ��������� ๘. ช่างเคลือบโลหะ
    ��������� ๙. ช่างปั้นหล่อ
    ������� ๑๐. ช่างเขียนแบบพุทธศิลป์สถาปัตย์
    ��������� นอกจากช่างพื้นบ้าน� พระช่าง� และช่างหลวงดังกล่าวแล้ว� ยังมีช่างอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า� ช่างเชลยศักดิ์� เป็นช่างที่รับจ้างทำงานช่างทั่วไป เป็นช่างที่ชอบอิสระ� ไม่ต้องการเป็นข้าราชการ� แต่ต้องการใช้ฝีมือช่างและความสามารถของตนเลี้ยงชีพอย่างอิสระ จึงมักปิดบังฝีมือของตนเพราะเกรงจะถูกเกณฑ์ไปเป็นช่างหลวง� ช่างเชลยศักดิ์นั้นนอกจากจะปกปิดชื่อเสียงของตนแล้ว� ยังมักหวงวิชาช่างของตนด้วยเพราะเกรงผู้อื่นจะนำวิชาความรู้นั้นไปหาเลี้ยงชีพแข่งกับตน� ความคิดเช่นนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้วิชาการช่างของไทยไม่แพร่หลายเท่าที่ควร� ทำให้วิชาความรู้ทางการช่างบางประเภทจึงสูญหายไปพร้อมกับตัวช่าง�
    ��������� อย่างไรก็ดีสภาพการช่างของไทยแต่ละยุคแต่ละสมัย จะขึ้นอยู่กับสภาพของบ้านเมืองหากยุคใดสมัยใดบ้านเมืองมีความมั่นคง มีความอุดมสมบูรณ์� ปราศจากศึกสงคราม� ช่างก็มีโอกาสแสดงฝีมือสร้างงานของตน� แต่ถ้ายุคใดบ้านเมืองมีศึกสงคราม� ประชาชนยากจน การช่างต่างๆ ก็จะซบเซาไม่ก้าวหน้า� จึงเห็นได้ว่าช่างและการช่างของไทยมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของบ้านเมืองมาทุกยุคทุกสมัย
    ��������� การจัดกรมช่างในสมัยโบราณเป็นการจัดหมวดหมู่และประเภทของช่างตามความถนัดและสังกัดกรมตามลักษณะช่าง เช่น กรมช่างเขียน กรมช่างแกะ� เป็นต้น� และเพื่อความสะดวกในการบังคับบัญชาควบคุมดูแล� จึงเลียนแบบการบังคับบัญชาอย่างกรมทหารมีเจ้ากรมปลัดซ้ายขวา� ผู้ที่มีหน้าต่างๆ ในกรมช่างก็จะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์��� และพระราชทินนามตามหน้าที่ เช่น ขุนประจงพินิจ เจ้ากรมช่างเรือขวา� หลวงวิจิตรราชมนตรี เจ้ากรมช่างสลักซ้ายหมื่นช่างซ้าย� หมื่นช่างขวา เป็นต้น
    จำนวนอ่าน : 781