• เพลงจดหมายผิดซอง������ พี่แสนดีใจ ได้รับจดหมาย จากไปรษณีย์ จ่าหน้าซองถึงพี่ สอดซองสี นี้ไม่ใช่ใคร
    พี่จำแน่นอน ว่าบังอรส่งถึงพี่ชาย เปิดอ่านดูข้างใน ต๊ายตาย จดหมายผิดซอง
    ������� เนื้อความจดหมาย น้องเขียนบรรยาย ถึงชายคนอื่น บอกว่าทนขมขื่น
    พี่กล้ำพี่กลืน น้ำตาไหลนอง .........
    ������ ซองนั้นเป็นของพี่ ซองนั้นเป็นของพี่ แต่จดหมายนี้ สิเป็นของใคร .......

    ������������������� ที่มา : http://www.nangdee.com��� จากเนื้อหาในบทเพลง จะเห็นว่า� แม้จะมีทักษะการเขียนดีอย่างไร� ถ้าผู้เขียน
    ไม่ใส่ใจในทุกกระบวนการของจดหมาย� ก็อาจเกิดรอยร้าวได้ในชีวิต�� ดังนั้น
    ทักษะการเขียนจดหมายจึงเป็นทักษะที่สำคัญ� ที่ต้องเรียนรู้ ทั้งรูปแบบ สำนวนภาษา
    ตลอดจนมารยาทในการเขียนจดหาย� และฝึกเขียนจดหมายให้เกิดทักษะ

    ��������������

    ��������������������������� ��� ภาพจาก : http://www.thaicontractors.com

    เรื่อง� การเขียนจดหมายส่วนตัว

    กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย� ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒, ๔

    การเขียนจดหมาย

    ������ การเขียนจดหมาย เป็นการสื่อสารชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นความเรียงที่มีรูปแบบ
    โดยเฉพาะ�ฉะนั้นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเขียนจดหมายคือ ผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำ
    อย่างพิถีพิถันเช่น ใช้ถ้อยคำที่สั้น กระชับ ตรงตามวัตถุประสงค์
    ������ นอกจากนี้จะต้องคำนึงถึงมารยาท ความสุภาพอ่อนน้อม ความเหมาะสม
    ตลอดจนกาลเทศะระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร� การเขียนจดหมายจะมีรูปแบบ
    ������ โดยทั่วไปจดหมายแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
    ������ ๑. จดหมายส่วนตัว ได้แก่จดหมายระหว่างบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อกัน
    เช่น พ่อ แม่ ลูก เครือญาติ เพื่อนสนิท
    ������ ๒. จดหมายกิจธุระ ได้แก่ จดหมายระหว่างเอกชนกับเอกชน อาจเป็นบุคคลใกล้ชิด
    หรือบุคคลทั่วไปก็ได้ หรือระหว่างเอกชนกับองค์การเอกชน เช่น สมาคม ห้างร้าน
    หรือเกี่ยวกับธุระการงานที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต โดยที่ไม่เกี่ยวกับผลกำไร ขาดทุน
    เช่น การลาหยุดเรียน หรือขอความช่วยเหลือ
    ������ ๓. จดหมายธุรกิจ ได้แก่ จดหมายระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับ
    องค์การเอกชน ที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุน มีการได้กำไรหรือขาดทุน เช่น การสั่งซื้อสินค้า
    �การกู้ยืม การขายสินค้า
    ������ ๔. จดหมายราชการ ได้แก่ หนังสือที่ส่วนราชการมีถึงส่วนราชการด้วยกัน หรือ
    ถึงเอกชน หรือองค์การเอกชนด้วยเรื่องราชการ

    กลวิธีในการเขียนจดหมาย
    ���������� ๑. เขียนข้อความให้ชัดเจน ใช้ถ้อยคำสุภาพ กะทัดรัด สละสลวย ไม่อ้อมค้อม
    �และต้องใช้ภาษาที่สำรวมมากกว่าภาษาพูด
    ���������� ๒. เขียนด้วยลายมือเรียบร้อย อ่านง่าย
    ���������� ๓. ใช้ภาษาถูกต้องตามลักษณะการใช้ภาษาและตามความนิยม
    ���������� ๔. เขียนถูกต้องตามแบบฟอร์มที่รับรองกัน
    มารยาทในการเขียนจดหมาย
    ���������� ๑.ใช้กระดาษสีขาว� สีอ่อนหรือสีสุภาพเข้ากันกับซองไม่มีรอยยับหรือ
    รอยฉีกขาดให้ได้มาตรฐานไม่ควรใช้กระดาษที่มีตราของทางราชการเขียนจดหมายส่วนตัว
    ���������� ๒. เขียนด้วยหมึกสีดำ สีน้ำเงิน ไม่ควรใช้ดินสอหรือหมึกแดง หมึกสีฉูดฉาด
    เพราะไม่สุภาพ ต้องเขียนตัวอักษรหรือตัวเลขให้ชัดเจน ไม่ขูด ลบ ขีด ฆ่า หรือเขียนทับลงไป
    ���������� ๓. ไม่ใช้ซองที่มีลวดลายหรือสีเข้มมาก
    ���������� ๔. ไม่สอดธนบัตรหรือสิ่งของมีค่าลงในซองจดหมาย อาจหายได้
    ���������� ๕. ไม่บรรจุสิ่งของอื่นนอกจากจดหมายลงไปในซองจดหมาย เช่นกระดุม
    ���������� ๖. เมื่อได้รับจดหมายหรือไปรษณีย์ภัณฑืแล้ว ต้องรีบตอบโดยเร็วที่สุด
    ��������� ๗. จดหมายที่ส่งทางไปรษณีย์ ต้องผนึกดวงตราไปรษณียากรที่มุมบนด้านขวามือ
    ควรใช้ดวงตราไปรษณียากรให้น้อยที่สุด
    ��������� ๘. ผนึกดวงตราไปรษณียกากรให้ถูกต้องตามอัตราที่การสื่อสารกำหนดไว้
    ��������� ๙. ถ้าเขียนไปรษณีย์บัตร ควรใช้ถ้อยคำสั้น ๆ สุภาพเป็นข้อความที่เปิดเผยได้
    ��������� ๑๐. ไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียนจดหมาย
    ��������� ๑๑. ควรเขียนคำนำหน้าชื่อผู้รับบนจ่าหน้าให้ถูกต้อง ตามความนิยมและความเหมาะสม
    เช่น คุณ นายแพทย์
    อาจารย์ หรือยศทางทหาร
    ��������� ๑๒. ไม่ควรใช้ซองที่ประทับตราเมล์อากาศส่งทางไปรษณีย์ธรรมดา
    ��������� ๑๓. ไม่ควรเขียนจดหมายถึงผู้อื่นในทำนองกล่าวหาว่าร้ายโดยไม่ลงชื่อผู้เขียน(บัตรสนเท่ห์)
    ��������� ๑๔. ถ้าต้องการเขียนข้อความเพิ่มเติมหลังจากจบจดหมายแล้ว ต้องเขียนคำว่า
    �ป.ล.(ปัจฉิมลิขิต) ก่อน
    ��������� ๑๕. เรียงลำดับเนื้อหาสาระให้เมาะสม ไม่กำกวม ถ้าเป็นจดหมายส่วนตัว
    �ควรมีถ้อยคำที่แสดงถึงความสัมพันธ์อันดี เช่น การถามทุกข์สุข
    ��������� ๑๖. ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาและตามความนิยม คำนึงถึงความสุภาพ
    ถูกกาลเทศะ รวมทั้งใช้คำนำ สรรพนาม และคำลงท้าย ให้เหมาะสมกับฐานะ
    �และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เขียนกับผู้รับ


    ���������������������������

    ������������������������������ �� ภาพจาก : http://se7endaydvd.tarad.com

    การเขียนจดหมายส่วนประกอบของจดหมาย��������� ๑. สถานที่เขียน ควรบอกให้ชัดเจนจากหน่วยย่อยไปหาหน่วยใหญ่ เช่น
    ����������������� ๑๒ หมู่ ๑ ตำบลพงสวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ๗๐๐๐๐
    ��������� ๒. วัน เดือน ปี ใช้แบบจดหมายราชการ ดังนี้
    ����������������� ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗
    ��������� ๓. คำขึ้นต้น ใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล
    ��������� ๔. ใจความหรือเนื้อความ ถ้ามีเรื่องจะต้องเขียนมากควรแบ่งเป็นตอน ๆ
    ถ้าจะเขียนเรื่องใหม่ก็ขึ้นบันทัดใหม่ ย่อหน้าไม่ควรเขียนติดต่อกันเพียงย่อหน้าเดียว
    ��������� ๕. คำลงท้าย ต้องใช้ให้สัมพันธ์กับคำขึ้นต้นและใช้ให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล
    ��������� ๖. ชื่อผู้เขียน ถ้าใช้ลายเซ็นต้องวงเล็บชื่อ นามสกุลไว้ใต้ลายเซ็นด้วยลายมือ
    ที่อ่านง่ายชัดเจนหากมีตำแหน่ง� หน้าที่การงานหรือติดต่อในฐานะตำแหน่งนั้นก็ให้บอก
    ตำแหน่งหน้าที่นั้นการวางรูปแบบของจดหมาย
    ������ การวางรูปแบบของจดหมายควรจัดระยะให้พอเหมาะ เพื่อให้สวยงาม
    จึงควรเว้นริมที่ขอบกระดาษทั้งสองด้านไว้ประมาณ ๑ นิ้ว และวางส่วนอื่น ๆ ตามลำดับดังนี้

    ������ที่อยู่ หรือสถานที่เขียนจดหมาย����มุมบนขวามือห่างจากกลางหน้ากระดาษ ๑ นิ้ว
    ������วัน เดือน ปี������������������������������กึ่งกลางหน้ากระดาษ
    ������คำขึ้นต้น���������������������������������ห่างจากริมกระดาษทางด้านซ้ายมือ ๑ นิ้ว
    ������เนื้อความของจดหมาย����������������ย่อหน้าจากคำขึ้นต้น ๑ นิ้ว
    ������คำลงท้าย��������������������������������ตรงกับวันที่
    ������ชื่อผู้เขียน��������������������������������อยู่ใต้คำลงท้าย ถอยหลังไปประมาณ ครึ่งนิ้ว
    ������คำรับรองของผู้ปกครอง(ถ้ามี)������ตรงกับคำขึ้นต้น
    ������ชื่อผู้ปกครอง���������������������������ตรงกับเนื้อความ

    จดหมายส่วนตัว������ จดหมายส่วนตัว เป็นจดหมายที่ใช้ติดต่อระหว่างบุคคลที่สนิทสนมคุ้นเคยกัน
    หรือ จดหมายที่เขียนติดต่อกันเป็นส่วนตัวระหว่างญาติสนิทมิตรสหาย
    ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการเขียน

    จดหมายส่วนตัวมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    ������ ๑. เล่าเรื่องราวต่าง ๆ หรือสอบถามเรื่องราว
    ������ ๒. ไต่ถามสารทุกข์สุขดิบ หรือทุกข์สุขส่วนตัว
    ������ ๓. เพื่อส่งข่าวคราว
    ������ ๔. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สนใจ
    ������ ๕. เพื่อแสดงไม่ตรีจิต หรือเพื่อขอบคุณ เป็นต้น

    �������������������������������������������� อ่านเพิ่มเติม

    ความคิดสร้างสรรค์แบ่งปันหลังเรียน
    คำชี้แจง�� ให้นำเสนอแนวคิดอย่างหลากหลาย
    ������ ๑. ทักษะ,ความรู้เรื่องการเขียนจดหมายมีประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน

    ������ ๒. หากนักเรียนจะเขียนจดหมายควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง


    กิจกรรมเสนอแนะ������ จัดประกวดการเขียนจดหมายโดยกำหนดเงื่อนไข
    ���� ให้นักเรียนเขียนจดหมายถึงใครก็ได้ เพื่ออธิบายว่า "ทำไมเราต้องคุยกันเรื่องโรคเอดส์"
    ����� (บูรณาการระหว่างการเขียนจดหมายกับเรียงความ)


    กิจกรรมบูรณาการ�� ������� กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ� เรื่อง หลักธรรมในการเขียนจดหมาย
    ������� กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง การเขียนจดหมายถึงเพื่อน
    ������� กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาฯ เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองให้ห่างไกลจากโรคเอดส์

    ที่มา : เพลินพิศ� สุพพัตกุล� แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ท๓๑๑๐๑
    ที่มา : เพลินพิศ�� สุพพัตกุล คู่มือการสอนวิชาภาษาไทย� ท๓๑๑๐๑

    ขอบคุณ : http://www.yorwor2.ac.th

    จำนวนอ่าน : 664